"การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ"

เรามาเรียนรู้เรื่อง "การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ"

ในหัวข้อ เด็กปัญญาเลิศกันเถอะครับ

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เด็กปัญญาเลิศ

เด็กปัญญาเลิศ

1. นิยาม
เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ           เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ  แต่เด็กปัญญาเลิศก็ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย
2. การคัดแยก
 การคัดแยกเด็กปัญญาเลิศจะต้องสอดคล้องกับกระบวนการที่จะตามมา  ซึ่งได้แก่เป้าหมายของการศึกษา  วัตถุประสงค์  การจัดหลักสูตร  วิธีสอน  และการประเมินผลการศึกษา  การคัดแยกเด็กปัญญาเลิศนั้น  ควรเริ่มในวัยเด็ก  ทั้งนี้เพื่อจะได้ส่งเสริมเด็กได้ทันท่วงที  ผู้ที่ทำการคัดเลือกควรใช้วิธีการหลายๆวิธีรวมกัน  ไม่ควรใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง  เพราะว่าเด็กมาจากสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันซึ่งจะส่งผลต่อการทดสอบ  หากเด็กมีปัญหาทางด้านอารมณ์  ภาษา  และการพูดด้วยแล้ว  การทดสอบตลอดจนการแปลผลคะแนน  จะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง  ให้เลือกใช้วิธีการคัดแยกเด็กวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
 2.1 การคัดแยกเด็กตามวิธีของโกแวน  (Gowan) มีดังนี้
2.1.1 คัดเลือกเด็กที่หลายคนคิดว่าเป็นเด็กฉลาด 
2.1.2 ทดสอบเด็ก  โดยใช้แบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาที่เป็นการทดสอบพร้อมกันครั้งละหลายคน  คัดเลือกเอาเด็กที่ได้คะแนนสูงสุด 10%  เด็กเหล่านี้จัดเป็นเด็กปัญญาเลิศ  ส่วนเด็กที่เหลือให้จัดกลุ่มไว้ต่างหาก  เด็กกลุ่มนี้เรียกว่า อ่างเก็บน้ำ
2.1.3 ให้ครูประจำชั้นคัดเลือกเด็กในชั้นจำนวนหนึ่ง  เด็กที่คัดเลือกควรมีลักษณะดังนี้
- เรียนเก่ง

- รู้คำศัพท์มาก
- มีความคิดสร้างสรรค์สูง
- มีความเป็นผู้นำ
- มีความสนใจและเก่งในวิชาวิทยาศาสตร์
- มีความคิดเชิงวิจารณ์สูง
- มีลักษณะพิเศษ  แต่มักรบกวนความสงบในห้องเรียน
- มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง
- มีเพื่อนมากที่สุด
- มีพ่อแม่ผู้ปกครองที่สนใจ  ส่งเสริมการเรียนของเด็ก
2.1.4 ทดสอบเด็กที่คัดเลือกไว้ในข้อ 1.3 โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  คัดเอาเด็กที่เก่งที่สุด 10% ไว้  ส่วนเด็กที่เหลือจัดไว้ในกลุ่ม อ่างเก็บน้ำ  ตามข้อ 1.2
2.1.5 ครูใหญ่  ครูประจำชั้น  ครูแนะแนว  และครูอื่นที่เคยสอน  หรือรู้จักเด็กเป็นอย่างดี  ทำการคัดเลือกเด็กที่มีคุณสมบัติ  ดังต่อไปนี้
- เป็นหัวหน้ากลุ่มนักเรียน
 - มีความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน
- มีพ่อแม่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาดี
- เป็นเด็กฉลาด  แม้จะมีปัญหาในการอ่าน
- เป็นเด็กฉลาด  แม้จะมีปัญหาทางอารมณ์
- เป็นเด็กฉลาดที่คณะกรรมการนี้มีความเห็นว่าจะเป็นเด็กปัญญาเลิศ
2.1.6 เรียงลำดับรายชื่อเด็กและระบุว่าเด็กแต่ละคนถูกกล่าวถึงกี่ครั้ง
2.1.7 เด็กใน อ่างเก็บน้ำเหล่านี้  หากคนใดถูกกล่าวถึง 3 ครั้งขึ้นไป  ให้จัดเป็นเด็กปัญญาเลิศได้
2.1.8 เด็กใน อ่างเก็บน้ำเหล่านี้  หากคนใดถูกกล่าวถึง 2 ครั้งขึ้นไป  ให้นำไปทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ Stanford-Binet
2.1.9 เด็กใน อ่างเก็บน้ำที่ถูกกล่าวถึงเพียงครั้งเดียว  ให้ปล่อยกลับชั้นเรียนไป
2.1.10 เด็กที่ผ่านการทดสอบ (ใช้จุดตัดเป็นเกณฑ์) โดยแบบทดสอบ Stanford-Binet  ให้จัดเป็นเด็กปัญญาเลิศ  เด็กที่ไม่ผ่านให้กลับชั้นเรียนไป  หากมีเวลาหรือกรรมการเห็นว่าเหมาะสม  ควรทดสอบเด็กในข้อ 2.1.9 ด้วย  และปฎิบัติเช่นเดียวกับข้อ 2.1.10

                       

ในการคัดเลือกครูควรพิจารณาและสังเกตเด็กต่อไปนี้เป็นพิเศษ
- เด็กด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม  เช่น เด็กที่พ่อแม่ฐานะยากจนมาก 
- เด็กที่ปัญหาทางอารมณ์
- เด็กที่มีปัญหาในการอ่าน
- เด็กที่มีความเป็นผู้นำ
2.2 การคัดเลือกอย่างเป็นทางการ
วิธีการต่อไปนี้เป็นวิธีคัดเลือกเด็กปัญญาเลิศ  ซึ่งโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กปัญญาเลิศควรนำมาใช้
2.2.1 การคัดเลือกเบื้องต้น
การคัดเลือกเบื้องต้นควรเป็นหน้าที่ของครูประจำชั้น  ครูประจำวิชา  ผู้ปกครอง  เพื่อนร่วมชั้นของนักเรียน  โดยบุคคลดังกล่าวทำหน้าที่สังเกตพฤติกรรมของเด็กปัญญาเลิศตามคำจำกัดความที่ทางโรงเรียนหรือผู้ที่รับผิดชอบทางการศึกษาตกลงกันแบบสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏในภาคผนวก  สามารถนำมาใช้ได้โดยเลือกมาใช้ตามความเหมาะสม
2.2.2 การทดสอบทางจิตวิทยา
2.2.3 พิจารณาจากผลการเรียน  โดยเฉพาะคะแนนจากวิชาวิทยาศาสตร์และภาษา
2.2.4  การทดสอบความคิดสร้างสรรค์แบบทดสอบที่ควรใช้  ได้แก่  Torrance  Tests  of  Creative  Thinking  (ทั้ง Verbal  และ Figural),  Guilfords  Test  of  Creativity  (ทั้ง Verbal  และ Figural)
2.2.5  การทดสอบด้านบุคลิกภาพแบบทดสอบที่ควรใช้  ได้แก่  California  tests  of  Personality  หรือแบบทดสอบอื่นที่มีลักษณะคล้ายการสัมภาษณ์
2.2.6 ข้อมูลอื่นๆที่ช่วยคณะกรรมการในการตัดสินใจในการคัดเลือกเด็กปัญญาเลิศ
ในการคัดแยกเด็กปัญญาเลิศและเด็กที่มีความสามารถพิเศษในอนาคต (ตั้งแต่บัดนี้ถึง 100 ปีข้างหน้า หรือ ในสหัสวรรษหน้า) นักจิตวิทยาชื่อก้องโลกคนนี้กล่าวว่า ในปัจจุบันการคัดแยกเด็กกลุ่มนี้เน้นความคิดสร้างสรรค์และทางวิชาการ แต่ในอนาคตการคัดเด็กกลุ่มนี้น่าจะนำทฤษฎีสติปัญญาที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ(Theory of Successful Intelligence) มาใช้ ซึ้งตามทฤษฎีนี้ ในการคัดแยกเด็กพิจารณาความสามรถ 3 อย่าง คือ
ทักษะในการคิดวิเคราะห์ (Analytical Skill)
ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ (Creative Skill)
ทักษะในเชิงปฏิบัติ (Practical Skill)
ซึ่งทั้ง 3 ทักษะนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนและในชีวิตการงานในอนาคต วิทยากรได้จัดตั้งโครงการขึ้น ชื่อว่า โครงการสายรุ่ง (Rainbow Project) ในโครงการนี้มีการสร้างแบบทดสอบที่ได้มาตรฐานแล้ว วิทยากรได้นำแบบทดสอบดังกล่าวไปใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และให้เรียนในมหาวิทยาลัย ผลปรากฎว่า นักศึกษากลุ่มดังกล่าวประสบความสำเร็จในการเรียนในระดับปริญญาตรีเป็นอย่างดี จึงให้ข้อเสนอแนะว่า ควรนำวิธีการดังกล่าวมาใช้ในการคัดเลือกนิสิตเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยแทนการสอบเข้าในปัจจุบัน
3. ลักษณะของเด็ก
เด็กปัญญาเลิศ เป็นเด็กที่มีสติปัญญาสูง มีความเฉลียวฉลาดกว่าเด็กทั่วไป ความฉลาดได้ส่อแววมาตั้งแต่ในวัยเด็กเล็ก เด็กอาจจะเดินได้ วิ่งได้ ตั้งแต่อายุยังน้อย มีพัฒนาการล้ำหน้ากว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน เรียนรู้ได้รวดเร็วหากมีการทดสอบทางด้านสติปัญญาหรือความถนัด เด็กเหล่านี้จะได้คะแนนสูงกว่าเด็กทั่วไป เด็กปัญญาเลิศมักจะเก่งในด้านต่อไปนี้
1. มีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่เจริญเติบโตได้เร็วกว่าเด็กปกติ
2. มีความสามารถในการเรียนรูสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
3. มีความอยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบชักถาม
4. มีความสามารถในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ได้ในชีวิตจริง
5. มีเหตุผล ความคิดดี
6. จดจำสิ่งที่เคยเห็นเคยอ่านได้รวดเร็วและแม่นยำ
7. มีความรู้กว้างขวางเกินวัย
8. ใช้คำศัพท์กว้างขวาง ถูกต้องแม่นยำและปริมาณคำที่รู้จักก็มีมาก
9. มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ แต่ใช้การได้ดีและมีอารมณ์ขัน
10. เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
11. มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน
12. ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว มักมีคำถามชวนคิด
2. สมาธิในการเรียนและการทำงานดี
3. สนใจและสนุกกับปัญหาที่ยากซับซ้อน
4. อ่านหนังสือได้เร็วกว่าอายุ
5. ชอบประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือในแนวใหม่ๆ
6. ใช้ภาษาได้ดี รู้จักคำศัพท์กว้างขวางเกินวัย
7. ชอบเรียนหนังสือ
8. แก้ปัญหาด้วยวิธีการหลากหลาย
9. มีลักษณะเป็นผู้นำในกลุ่มเด็กวัยเดียวกัน
สาเหตุที่ทำให้เด็กเก่ง
              1. พันธุกรรม
              2. องค์ประกอบทางด้านชีววิทยาอื่นๆ
              3. สังคมและวัฒนธรรม
4. ปัญหาและข้อจำกัด
เด็กปัญญาเลิศจะมีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ซึ่งสามารถแยกแยะได้ 8 ประการดังนี้
1. เด็กที่มีความสามารถพิเศษจำนวนไม่น้อย มีความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง เพราะคนไม่ค่อยเข้าใจความคิดและความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กกลุ่มที่มีความสามารถสูงๆจะรู้สึกว่าทำไมคนอื่นคิดและรู้สึกไม่เหมือนเขา จนรู้สึกว่าตัวเองเป็นมนุษย์ต่างดาว ไม่เหมือนเพื่อนคนอื่นๆ เด็กจึงมีพฤติกรรมตอบสนองไปในรูปแบบต่างๆ แล้วแต่พื้นฐานจิตใจรอบรมเลี้ยงดู และวิธีคิดของเด็กๆ
2. รู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อยด้อยค่า ไม่มีคุณค่าในตัวเอง ทำให้ขาดความมั่นใจ ขาดการตัดสินใจที่ดีในอนาคต
3. รู้สึกว่ามีปัญหาในการปรับตัว ไม่สามารถมีความรู้สึกนึกคิดคล้อยไปกับสังคมหรือผสมผสานกับกลุ่มที่ตัวเองต้องไปเกี่ยวข้องได้ เพราะระบบคิดต่างกัน
4. มีความเครียดสูง จากสาเหตุต่างๆ ทั้งในเรื่องความคาดหวังและการที่ตัวเองอยู่ในสภาพที่โดนกดดันโดยระบบการศึกษาที่น่าเบื่อ และต้องปฏิบัติในสิ่งที่ตัวเองไม่สนใจ
5. กลัวความล้มเหลว ในกรณีที่เด็กแสดงออกถึงความโดดเด่น ผู้คนใกล้ชิดก็มักจะคาดหวัง หรือโดยนิสัยพื้นฐานเด็กกลุ่มนี้มีรสนิยมทางปัญญา สูงกว่าปกติอยู่แล้ว มีแนวโน้มที่จะทำอะไรสมบูรณ์ไม่มีที่ติอยู่แล้ว เลยทำให้หลีกเลี่ยงสถานการณ์ล้มเหลวหลายๆอย่าง
6. ขาดความมั่นใจในตัวเอง เป็นโรคที่พบมากในขณะนี้ที่เด็กไม่กล้าแสดงออก เป็นผลให้เกิดความล้มเหลวในการเรียนการงาน
7. ขาดสมาธิ หรือที่เรียกกันทางวิชาการว่า โรคสมาธิบกพร่องที่เป็นโรคฮิตอันดับแรกกับเด็กทั่วไปทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ
8. ทำงานไม่ค่อนเสร็จ มีความคิดดีๆ พูดอะไรเข้าใจรวดเร็ว คิดเก่ง คิดไว แต่พอลงมือทำไม่ค่อยอดทนทำให้สำเร็จ
การเรียนการสอนจะดีแค่ไหนก็ไม่มีน้ำหนักเท่ากับสิ่งแวดล้อมที่ดีทางบ้านและช่วยวัยที่สำคัญที่สุดที่เด็กควรได้รับการดูแลอย่างจริงจังก็คือตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ และยิ่งในกรณีของเด็กปัญญาเลิศ  การปรึกษาหารือกับมืออาชีพในการแนะแนวทางการเลี้ยงดูและการศึกษาก็ยิ่งเป็นประต่อพวกเขามากที่สุด


ปัญหาของเด็กปัญญาเลิศ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่1 เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น นอนหลับลึกปลุกยาก เป็นเด็กอ้วนถูกเพื่อนล้อเลียน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ฟันไม่สบกัน เคี้ยวอาหารลำบาก
กลุ่มที่ 2  เกี่ยวกับทางอารมณ์และสังคม ได้แก่ การทะเลาะกันระหว่างพี่น้อง เพราะมีความคิดแตกต่างกัน มีความก้าวร้าวและอิจฉาน้อง การแหย่กันระหว่างพี่น้อง หงุดหงิดอาละวาด มีความกังวลสูง ไม่พอใจคำพูดของผู้ใหญ่ในบ้าน มีนิสัยเฉื่อยชา กลัวคนแปลกหน้า คนแก่ ได้รับการตามใจมากเกินไป มีความกังวลเกี่ยวกับการเรียน ต้องการความรัก-เอาใจใส่จากมารดามากทุกๆคน ทำให้ไม่มีการเสียสละ
กลุ่มที่ 3 เกี่ยวกับการทำงาน เช่น ทำงานล่าช้า ดูแต่ทีวี ไม่รู้จักการแก้ปัญหาในการทำงานกลุ่ม ไม่ชอบวางแผนล่วงหน้า ขาดทักษะในทางกีฬา เพื่อนในกลุ่มไม่ค่อยช่วยทำงาน จึงไม่สบายใจ
ปัญหาการเรียน  มีสาเหตุได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน แยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. สาเหตุภายในตัวเด็ก
                1. สาเหตุด้านร่างกาย
1.1 เด็กที่มีการเติบโตทางสมองช้า เด็กกลุ่มนี้จะมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำ ซึ่งอาจสังเกตได้ตั้งแต่เล็กๆ ว่า มีการยิ้ม ชันคอ คว่ำ นั่ง ยืน เดิน และพูดช้ากว่าเด็กอื่น เมื่อเข้าสู่วัยเรียน เด็กอาจเรียนไม่ได้เลย เรียนไม่ทันเพื่อน หรือเรียนได้เฉพาะชั้นต้นๆ แต่จะมีความลำบากขึ้นจนเรียนต่อไปไม่ได้ในชั้นสูงขึ้นไป ซึ่งมีวิชาเรียนมากขึ้นและบทเรียนยากขึ้น
                1.2 เด็กที่มีความผิดปกติทางสมองที่ทำให้มีขีดจำกัดในวิธีการเรียนรู้บางอย่าง เช่น มีความลำบากในการพูด การสะกดคำ การอ่าน การเขียนหรือการคำนวณทั้งๆที่ระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่จะมีผลการเรียนต่ำ ในด้านที่สัมพันธ์กับปัญหาดังกล่าว
                1.3 เด็กปัญญาเลิศ คือ เด็กที่มีระดับเชาวน์ปัญญาสูงกว่าปกติมาก มีลักษณะฉลาดเกินวัย มีความคิดสร้างสรรค์ และอาจมีความถนัดเป็นพิเศษทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ดนตรี ศิลปะ แต่ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย
                1.4 เด็กที่เป็นโรคซน และสมาธิสั้นซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมองบางส่วน คาดว่าอาจเกิดจากสารเคมีในสมองบางชนิดไม่สมดุล เด็กจะมีอาการสำคัญ คือ ซน อยู่ไม่นิ่ง ชอบวิ่ง ปีน ป่าย กระโดด มีสมาธิสั้น เหม่อลอย วอกแวกง่าย หุนหัน วู่วาม ลำบากในการควบคุมตัวเอง

                1.5 เด็กมีสุขภาพไม่แข็งแรง หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจพิการ โรคไต โรคมะเร็ง หรือมีโรคที่มีผลกระทบต่อสมอง เช่น โรคลมชัก ทำให้เด็กต้องขาดเรียนบ่อย ต้องหยุดพักรักษาตัวนาน ทำให้เรียนช้าไม่ทันเพื่อนได้
                1.6 เด็กมีความผิดปกติของสายตา การได้ยิน หรือความพิการที่ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการเรียน
2. สาเหตุจากลักษณะเฉพาะของเด็ก เช่น เด็กมีลักษณะสมยอม ขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้
3. สาเหตุด้านอารมณ์จิตใจ เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ มักจะมีความกังวลครุ่นคิดแต่ปัญหาที่ไม่สบายใจ มักจะแสดงอาการดังนี้ เช่น เหม่อลอย อ่อนเพลีย เป็นลม กลับมามีปัสสาวะรดที่นอนอีก หรือหงุดหงิด ก้าวร้าวเปลี่ยนไปจากเดิมมีผลให้มีความสนใจและสมาธิในการเรียนลดลง เรียนไม่ได้เต็มความสามารถ
2. สาเหตุนอกตัวเด็ก
                1. ปัญหาภายในครอบครัว
                                1.1 ครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ พ่อแม่แยกกันอยู่ หย่าร้าง ทอดทิ้งเด็ก มีการทะเลาะ หรือใช้ความรุนแรงมีผลกระทบต่ออารมณ์ และการเรียนรู้ของเด็กได้
                                1.2 การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม และความคาดหวังของผู้ใหญ่ เช่น การปล่อยปละละเลย ตามใจหรือบังคับเข้มงวด ตลอดจนมีความคาดหวังในการเรียนของเด็กมากเกินไป ล้วนก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรม และการเรียนได้
                                1.3 ปัญหาการเงิน เช่น ครอบครัวที่ต้องการแรงงานจากเด็ก เพื่อช่วยหารายได้เข้าครอบครัวมักจะทำให้เด็กขาดโอกาสได้เรียนอย่างเหมาะสม หรือครอบครัวที่ประสบปัญหาการเงิน เช่น พ่อหรือแม่ตกงาน ย่อมทำให้เกิดความเครียดในครอบครัวและอาจมีผลกระทบต่อโอกาสในการเรียนของลูกได้
                2. ปัญหาของโรงเรียน
                                2.1 ระบบของโรงเรียนที่มีมาตรฐานการเรียน การสอนไม่สอดคล้องกัน เช่นโรงเรียนอนุบาลมีทั้งแบบเตรียมความพร้อม แบบกลางๆ และแบบเร่งรัดหรือความแตกต่างระหว่าง โรงเรียนรัฐบาล กับ เอกชน โรงเรียนมีชื่อเสียง กับ โรงเรียนธรรมดา โรงเรียนในเมืองหลวงกับต่างจังหวัด ฯลฯ ล้วนมีผลต่อวิธีการ บรรยากาศและโอกาสในการเรียนรู้ของเด็ก ทัศนคติ และความคาดหวังของพ่อแม่ได้มาก
                                2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครูและเพื่อน จะพบว่าเด็กที่ขาดความสัมพันธ์อันดีกับครู มีการเปลี่ยนครูบ่อย เข้ากับเพื่อนไม่ได้ รังแกเพื่อนหรือถูกเพื่อนข่มขู่ รังแก อาจมีผลกระทบต่อการเรียน


5. การช่วยเหลือ
การช่วยเหลือ จะเห็นว่าปัญหาการเรียนเกิดจากหลายสาเหตุและอาจต้องการความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย เช่น พ่อ แม่ ครู หรือทีมแพทย์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา พ่อแม่จะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือได้ ดังนี้ ทำความเข้าใจปัญหาโดยหาสาเหตุ และแก้ไขให้ตรงจุด ซึ่งอาจขอความช่วยเหลือเพิ่มจากครูหรือแพทย์  เพิ่มความสัมพันธ์ต่อการเรียนของเด็กให้สอดคล้องกับความสามารถที่แท้จริง  เพิ่มความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่ลูก เช่น ไม่สื่อสารแบบตำหนิ เปรียบเทียบ ประชดประชันหรือจับผิด  จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเรียน เช่น ชั้นการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กหูหนวก ตาบอด เชาวน์ปัญญาช้า หรือ การเรียนพิเศษเฉพาะด้าน
พัฒนาคุณสมบัติอื่นๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียน เช่น ส่งเสริมให้ช่วยเหลือตนเอง และงานบ้านเพื่อเด็กมีความรับผิดชอบ ขยัน และอดทน  ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เช่น การเข้าใจและยอมรับตัวเองและผู้อื่นได้ การควบคุมอารมณ์เป็นการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ส่งเสริมความสามารถด้านอื่น ที่ไม่ใช่การเรียนเท่านั้น ตามความสนใจของเด็ก เช่น งานประดิษฐ์ ดนตรี ศิลปะ
6. การสอน
วิธีสอนเด็กปัญญาเลิศ  มีดังนี้
                1. การเรียนรู้แบบรู้แจ้ง  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน ตามระดับความสามารถของเด็ก โดยครูแจกแจงเนื้อหาวิชาออกเป็นขั้นย่อย ๆ หลาย ๆ ขั้น แล้วให้เด็กได้เรียนตามทีละขั้น โดยไม่มีการเร่งรัดเกี่ยวกับเวลามากนัก ให้เด็กเรียนไปเรื่อย ๆ ตามความสามารถ จนกระทั่งเด็กเรียนด้วยตนเองครบหน่วยของเนื้อหาที่ครูกำหนด การเรียนรู้แบบนี้เป็นทางเลือกอย่างหนึ่งที่ให้เด็กเลือกเรียนได้ตามความสามารถ
                2. การจัดหลักสูตรให้กะทัดรัด  เป็นการปรับปรุงหลักสูตรวิธีหนึ่งเพื่อให้เหมาะกับเด็กปัญญาเลิศโดยมุ่งเน้นให้เด็กได้มุ่งเรียนในเนื้อหาวิชาที่เป็นจุดสำคัญจริง ๆ ในบางครั้ง จึงจำเป็นต้องตัดกิจกรรมการเรียนบางอย่างออกไป เมื่อครูเห็นว่าเด็กมีทักษะแล้ว เช่น การนำเข้าสู่บทเรียน การทบทวนแบบฝึกหัด การทบทวนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น แต่ครูจะต้องแน่ใจว่าเด็กมีพื้นฐานแล้ว จึงจะเรียนเนื้อหาวิชาที่ยากขึ้นได้
                3. การคิดเชิงวิจารณ์  เป็นการสอนให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักใช้เหตุผลก่อนตัดสินใจและไม่ได้หลงเชื่อใครง่าย ๆ ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญคือ ประการแรกการตรวจสอบข้อมูล ว่าข้อมูลที่ได้รับมาถูกต้องหรือไม่เพียงใด ควรเลือกเชื่อข้อมูลประเภทใด เมื่อทราบแหล่งที่มาของข้อมูลแล้ว จะต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลว่า น่าเชื่อถือหรือไม่ พิจารณาถึงข้อดีข้อเสียก่อนตัดสินใจบางครั้งอาจมีการตั้งสมมติฐานไว้ในใจ แล้วหาทางพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่จึงจะทำการตัดสินใจได้ถูกต้อง

                4. ศูนย์การเรียน  เป็นการจัดมุมใดมุมหนึ่งในห้องเรียน หรือในโรงเรียนให้เป็นมุมหรือศูนย์ที่เน้นเนื้อหาวิชาใดวิชาหนึ่งตามเนื้อหาในหลักสูตร แล้วให้เด็กเข้าศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองตามศูนย์ที่ครูจัดไว้ เด็กบางคนอาจมีความสนใจในเนื้อหาที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ครูอาจจัดตั้งศูนย์พัฒนาความสนใจขึ้น เพื่อให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองก็ได้
                5. การคิดระดับสูงเป็นการสอนให้เด็กเรียนรู้ตามแนวความคิดของนักการศึกษาชาวอเมริกัน ชื่อ Benjamine Bloom ซึ่งกล่าวว่า การสอนให้มีความรู้ และความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเป็นการสอนให้มีความรู้ในระดับต่ำ ครูควรจะสอนให้เด็กนำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลสิ่งที่เรียนดี ไม่ดี มีประโยชน์ ไม่มีประโยชนอย่างไร จึงจะถือว่าประสบผลสำเร็จ เพราะนั่นคือการสอนให้เด็กรู้จักการคิดในระดับสูง
                6. การศึกษาด้วยตัวเอง  เป็นการมอบหมายให้เด็กได้ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งในแนวลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เด็กให้ความสนใจอย่างมาก แต่ครูจะต้องคอยให้คำแนะนำเด็ก เมื่อได้ความรู้มาแล้วนักเรียนจะต้องจัดความรู้เป็นหมวดหมู่ แล้วนำเสนอในรูปแบบของรายงาน วีดิทัศน์ หรือนิทรรศการ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียน
                7. การฝึกงานกับผู้ชำนาญงาน  เป็นการส่งเด็กปัญญาเลิศไปฝึกงานกับผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ชำนาญการนั้นถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เด็กปัญญาเลิศ
                8. การสอนเร่ง  เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนเนื้อหาที่ยากขึ้น เกินกว่าที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
                9. การสอนเสริม  เป็นการสอนตามเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แต่มีกิจกรรมที่กว้างขวางขึ้น เนื้อหาเดิมแต่กิจกรรมอาจมีมากขึ้น ทั้งแนวลึกและแนวสร้างสรรค์ ซึ่งอาจจัดเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตร หรือเป็นค่ายฤดูร้อนก็ได้
                10. การข้ามชั้น  เป็นการเลื่อนชั้นเรียนให้สูงขึ้น
                11. การเข้าเรียนก่อนเกณฑ์  เป็นการส่งเด็กเข้าเรียนเมื่ออายุยังน้อย ตามปกติแล้วเด็กจะเข้าเรียนเมื่ออายุครบตามเกณฑ์ที่กฎหมากำหนด
                12. การเรียนตามความสามารถของตนเอง  เป็นการให้เด็กปัญญาเลิศเรียนหนังสือด้วยตัวเองตามเนื้อหาที่กำหนด โดยครูจะนำเนื้อหาวิชามาแบ่งเป็นตอน ๆ หรือเป็นชุด ๆ แล้วให้เด็กเรียนด้วยตนเองเป็นชุด ๆ ตามความสามารถของเด็ก ไม่มีการกำหนดเวลา เด็กจะเรียนกี่ชุดหรือทุกชุดก็ได้
                13. การเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเมื่ออายุยังน้อย ตามปกติแล้วเด็กจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หากระเบียบการต่าง ๆ เปิดกว้างกว่านี้ เด็กเก่งอาจมีโอกาสเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเมื่ออายุยังน้อยก็ได้ หากเกณฑ์การเข้ามหาวิทยาลัยพิจารณาความสามารถทางวิชาการเป็นหลัก ไม่มีข้อจำกัดด้านอายุ เป็นต้น
                14. การเรียนทางไปรษณีย์  เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนด้วยตนเองทางไปรษณีย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยบางแห่งจัดสอน อาจฟังคำบรรยายจากเทปเสียง หรือจากวีดิทัศน์ก็ได้ ซึ่งเด็กจะเรียนได้ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความสามารถและความสนใจของตน
                15. การเรียนล่วงหน้า  เป็นการอนุญาตให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าไปเลือกเรียนบางรายวิชาในระดับมหาวิทยาลัยได้ และเก็บสะสมหน่วยกิตไว้ เมื่อเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจริง จะช่วยให้เด็กเรียนจบระดับมหาวิทยาลัยเร็วขึ้น
                16. การแก้ปัญหา  เป็นการฝึกให้เด็กแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการเรียน หรือปัญหาในสังคมก็ได้ ครูอาจให้เด็กทำงานคนเดียวหรือทำงานเป็นกลุ่มก็ได้ เป็นการสอนให้เด็กรู้จักการวิเคราะห์ปัญหาว่าปัญหาเกิดมาจากอะไร มีที่มาอย่างไร
                17. การจัดหลักสูตรฉบับย่อ  เป็นการจัดหลักสูตรที่เข้มข้น เพื่อให้เด็กปัญญาเลิศได้เรียนภายในเวลาที่สั้นลง
                18. การนับหน่วยกิตโดยการสอบ  เป็นการสอบโดยที่เด็กไม่ต้องมาเรียน ให้เด็กเรียนด้วยตนเองที่บ้าน เมื่อสิ้นภาคเรียนให้เด็กเข้าสอบ หากเด็กสอบได้ เด็กก็ได้รับสิทธิในการสอบผ่านการเรียนวิชานั้น และเก็บสะสมหน่วยกิตไว้ เมื่อหน่วยกิตครบตามหลักสูตรก็ถือว่าสำเร็จการศึกษา
                19. การทำสัญญา  เป็นการทำสัญญากับเด็กในด้านการเรียน เป็นสัญญาที่มีการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในจะต้องมีจุดมุ่งหมายชัดเจน มีขอบข่ายเนื้อหาวิชาที่เด็กจะต้องรู้ภายในเวลาที่กำหนด และเด็กต้องนำเนื้อหาวิชามาเสนอครู เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง
                20. ความคิดสร้างสรรค์  เป็นการสอนและส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิด จินตนาการในการเรียนรู้ให้มาก ควรตั้งคำถามให้เด็กตอบ ไม่ควรเป็นคำถามที่มีคำตอบเดียว แต่เป็นคำถามปลายเปิด ที่มีคำตอบมากมาย ให้อิสระแก่เด็ก ไม่ควรตำหนิหรือลงโทษเด็ก ควรมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาเสียก่อน จึงจะสามารถใช้วิธีประยุกต์และสร้างสรรค์เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ครูสอนผู้เรียนปัญญาเลิศควรเป็นบุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนเพื่อสอนรายวิชาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับผู้เรียนปัญญาเลิศ : ศึกษาประวัติและข้อมูลของผู้เรียน ประเมินความสามารถของผู้เรียน เพื่อจัดเตรียมแผนการสอน วิธีการสอน กิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของผู้เรียน ดำเนินการสอนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนปัญญาเลิศได้มีโอกาสเต็มที่ในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถ พร้อมทั้งบันทึกผลการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการผลิตสื่อการเรียน การสอนหรือการนำอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็นมาใช้ เตรียมความพร้อมด้านการศึกษา ร่างกาย อารมณ์และสังคมของผู้เรียนเพื่อส่งเข้าไปเรียนในโรงเรียนเรียนร่วมสอนผู้เรียนปัญญาเลิศร่วมชั้นเรียนกับผู้เรียนปกติในโรงเรียนสอนคนปกติทั่วไป ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ครูประจำชั้นในโรงเรียนเรียนร่วม รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปัญญาเลิศ
การจัดโปรแกรมการศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษาเพื่อแสดงถึงการยอมรับและเคารพต่อความแตกต่างของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การจัดการศึกษาจะต้องปรับให้เกิดความเหมาะสม โดยพิจารณาจากผลของกระบวนการประเมินการศึกษาที่ต่อเนื่อง รวมไปถึงแผนการศึกษาที่มีจุดประสงค์เป็นพิเศษเฉพาะที่ระบุถึงการให้บริการทางการศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการพิเศษของนักเรียน (Educaiton Act Sec.I(1(63))          
7. สื่อ  อุปกรณ์  บริการ สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น
                อุปกรณ์การสอนเด็กปัญญาเลิศนั้นสำคัญอยู่ที่หนังสือ  เมื่ออยู่ในยุคของคอมพิวเตอร์นักการศึกษาควรจะค้นหาวิธีใช้เครื่องให้เป็นประโยชน์ต่อเด็กปัญญาเลิศมากที่สุด  สื่อการสอนอีกจำนวนหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ  วิดีโอเทป  ใช้บันทึกบรรยายพิเศษ  สำหรับให้เด็กได้ฟังเมื่อต้องการ  เพราะวิทยากรที่มีความรู้พิเศษทั้งหมดเหล่านี้ไม่สามารถจะจ่ายตัวเองไปยังที่ๆต้องการได้ทั่วถึงตลอดเวลา